บทความ

ประเทศไทย 4.0 และโทรคมนาคม

ประเทศไทย 4.0 และโทรคมนาคม ประเด็นที่กำลังเป็นจับตามองในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้น “ประเทศไทย 4.0” หรือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อย หากจะอธิบายอย่างคร่าวๆ ก็คงจะอธิบายได้ว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้ปรับเปลี่ยนมากันด้วยทั้งสิ้น 3 ยุค โดยในยุคแรกเรียกว่า “ประเทศไทย 1.0” ซึ่งเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นภาคการเกษตร ในยุคต่อมาคือ “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า เครื่องหนัง กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องดื่ม เครื่องประดับ เป็นต้น ต่อมาคือ “ประเทศไทย 3.0” หรือในยุคปัจจุบันคือยุคโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นน้ำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับ “ประเทศไทย 4.0” จะปรับเปลี่ยนจาก “ผลิตสินค้า” ไปสู่ “การให้บริการ” และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดย “อุตสาหกรรม” ไปสู่การขับเคลื่อนโดย “เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์” ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาทั้ง 3 ย

ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 คือ

รูปภาพ
ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถ้าใครติดตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายและปาฐกถาพิเศษในงานต่างๆ จะมีคำพูดใหม่ออกมาว่า จะนำพาประเทศก้าวสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0” แล้ว “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร เราๆ ท่านๆ ชาวบ้านร้านตลาดคงอดสงสัยไม่ได้ ว่าผู้นำประเทศกำลังจะพาพวกเราไปทางไหน และไปได้จริงหรือเปล่า คำอธิบายเบื้องต้นที่ขยายความให้เห็นภาพได้บ้างก็คือ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น บุคคลที่จะมาไขรหัสโมเดลใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี คือ ดร.สุวิทย์ เมษินท

ประเทศไทย ยุค 4.0 เป็นอย่างไร

รูปภาพ
ประเทศไทยในยุค 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่            ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีโอกาส ไปฟังท่านนายกรัฐมนตรี มาบรรยาย ประเทศไทย 4.0 ตามที่มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่าน แต่ก็มีความสนใจในหัวข้อนี้และเชื่อว่า หลายท่านที่ไม่มีโอกาสได้เข้าฟังบรรยายด้วยตัวเองก็มีความสนใจและอยากทำความเข้าใจกับ  ประเทศไทยยุค  4.0  หรือ  ไทยแลนด์  4.0   เช่นกัน ประเทศไทยยุค  4.0  หรือ ไทยแลนด์   4.0   เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ  โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า  “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”  ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ “ ประเทศไทย  4.0”  เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้ว

การศึกษาในยุค4.0

ในยุค Education 4.0 ที่การเรียนการสอนมุ่งสอนให้ผู้เรียน สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม  ดังนั้นการศึกษายุคใหม่ต้องเน้นแสวงหาการเรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานะการณ์ การจัดการศึกษา 4.0 จึงต้องนำเอาหลักการ เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ ที่ตรงความสนใจของ ชนพื้นเมืองดิจิทัล ที่มีชีวิตในโลกไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันบนไซเบอร์ โดยใช้ขีดความสามารถของระบบเชื่อมโยงทางฟิสิคัลกับไซเบอร์ ที่มีอุปกรณ์สมัยใหม่ช่วย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ เมื่อแนวโน้มการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม แล้วการศึกษาของประเทศควรจะพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค “ประเทศไทย 4.0” เมื่อการเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด เข้าถึงได้ง่าย การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว  เด็ก เยาวชนยุคใหม่ มีลักษณะเป็น ชนพื้นเมืองดิจิทัล Digital native ทำให้การเรียนการสอน

เด็กไทย4.0คืออะไร

รูปภาพ
เด็กไทยยุค 4.0 ที่เกิดโตมาในสังคมที่เต็มไปด้วยความแข็งขัน จึงทำให้พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครอง ยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของลูกหลานเพื่อสร้างโอกาสเชิงการแข่งขันกันตั้งแต่วัยเยาว์ โดยจากผลการวิจัยพบว่า คุณแม่ให้ความสำคัญกับ 5 ความสามารถพิเศษ จะมีอะไรบ้างไปชมกันเลย!!! ซึ่งผลวิจัยนี้มาจาก  Amarin Baby & Kids เครือข่ายแม่ลูกที่เข้าถึงคุณแม่และสมาชิกครอบครัวถึง 21 ล้านคนต่อเดือน หรือ 73% ของแม่ไทยทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงพฤติกรรม ทัศนคติ ความคาดหวัง และตัวแปรตัดสินใจต่างๆ ของคุณแม่ไทยยุค 2017 • 85% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านภาษา โดยคุณแม่อยากให้ลูกสามารถพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษาขึ้นไป • 56% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านกีฬา เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทางสังคม • 45% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านการแสดง เพื่อให้ลูกกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ • 42% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านดนตรี เพื่อสร้างทักษะทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี • 23% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จากผลวิจัยจะเห็นได้ว่า พ่อแม่ ส่

อาเซียนคืออะไร

รูปภาพ
 อาเซียน ASEAN ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า  " ASEAN "  หรือในภาษาไทยอ่านว่า  " อาเซียน "  จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น อาเซียน  เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่  มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซ

ASEAN4.0

รูปภาพ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า “4.0” ในหลากหลายบริบท อาทิ เศรษฐกิจ 4.0 อุตสาหกรรม 4.0 และประเทศไทย 4.0 คำว่า “4.0” แท้จริงแล้วเราต้องการสื่อถึงการขับเคลื่อนบริบทต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แต่การขับเคลื่อนด้วยสิ่งเหล่านั้น เราจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาคน 4.0 ให้ได้เสียก่อน ในฐานะที่การศึกษา คือ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน จึงควรพัฒนาให้เป็นการศึกษาระบบ 4.0 เพื่อพัฒนาคน 4.0 ให้ได้ โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงคนให้มีทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ จากการจัดอันดับโลกทางการศึกษาของเพียร์สัน (Pearson) ซึ่งจัดอันดับจากดัชนีความสามารถการเรียนรู้ (Learning curve index) โดยใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ ด้านทักษะในการรับรู้ (Cognitive Skill) และด้านประสิทธิผลทางการศึกษา (Educational Attainment) เมื่อพิจารณาการจัดอันดับเมื่อปี ค.ศ. 2014 พบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 3 ประเทศ ได้รับการจัดอันดับใน 40 อันดับแรก โดยอันดับ 3 คือ สิงคโปร์ อันดับ 35 คือ ไทย และอันดับ 40 คือ อินโดนีเซีย เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายใต้ความเป็นอันดับ 3 ของสิงคโปร