บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ประเทศไทย 4.0 และโทรคมนาคม

ประเทศไทย 4.0 และโทรคมนาคม ประเด็นที่กำลังเป็นจับตามองในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้น “ประเทศไทย 4.0” หรือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อย หากจะอธิบายอย่างคร่าวๆ ก็คงจะอธิบายได้ว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้ปรับเปลี่ยนมากันด้วยทั้งสิ้น 3 ยุค โดยในยุคแรกเรียกว่า “ประเทศไทย 1.0” ซึ่งเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นภาคการเกษตร ในยุคต่อมาคือ “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า เครื่องหนัง กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องดื่ม เครื่องประดับ เป็นต้น ต่อมาคือ “ประเทศไทย 3.0” หรือในยุคปัจจุบันคือยุคโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นน้ำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับ “ประเทศไทย 4.0” จะปรับเปลี่ยนจาก “ผลิตสินค้า” ไปสู่ “การให้บริการ” และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดย “อุตสาหกรรม” ไปสู่การขับเคลื่อนโดย “เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์” ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาทั้ง 3 ย

ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 คือ

รูปภาพ
ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถ้าใครติดตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายและปาฐกถาพิเศษในงานต่างๆ จะมีคำพูดใหม่ออกมาว่า จะนำพาประเทศก้าวสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0” แล้ว “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร เราๆ ท่านๆ ชาวบ้านร้านตลาดคงอดสงสัยไม่ได้ ว่าผู้นำประเทศกำลังจะพาพวกเราไปทางไหน และไปได้จริงหรือเปล่า คำอธิบายเบื้องต้นที่ขยายความให้เห็นภาพได้บ้างก็คือ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น บุคคลที่จะมาไขรหัสโมเดลใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี คือ ดร.สุวิทย์ เมษินท

ประเทศไทย ยุค 4.0 เป็นอย่างไร

รูปภาพ
ประเทศไทยในยุค 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่            ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีโอกาส ไปฟังท่านนายกรัฐมนตรี มาบรรยาย ประเทศไทย 4.0 ตามที่มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่าน แต่ก็มีความสนใจในหัวข้อนี้และเชื่อว่า หลายท่านที่ไม่มีโอกาสได้เข้าฟังบรรยายด้วยตัวเองก็มีความสนใจและอยากทำความเข้าใจกับ  ประเทศไทยยุค  4.0  หรือ  ไทยแลนด์  4.0   เช่นกัน ประเทศไทยยุค  4.0  หรือ ไทยแลนด์   4.0   เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ  โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า  “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”  ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ “ ประเทศไทย  4.0”  เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้ว

การศึกษาในยุค4.0

ในยุค Education 4.0 ที่การเรียนการสอนมุ่งสอนให้ผู้เรียน สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม  ดังนั้นการศึกษายุคใหม่ต้องเน้นแสวงหาการเรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานะการณ์ การจัดการศึกษา 4.0 จึงต้องนำเอาหลักการ เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ ที่ตรงความสนใจของ ชนพื้นเมืองดิจิทัล ที่มีชีวิตในโลกไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันบนไซเบอร์ โดยใช้ขีดความสามารถของระบบเชื่อมโยงทางฟิสิคัลกับไซเบอร์ ที่มีอุปกรณ์สมัยใหม่ช่วย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ เมื่อแนวโน้มการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม แล้วการศึกษาของประเทศควรจะพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค “ประเทศไทย 4.0” เมื่อการเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด เข้าถึงได้ง่าย การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว  เด็ก เยาวชนยุคใหม่ มีลักษณะเป็น ชนพื้นเมืองดิจิทัล Digital native ทำให้การเรียนการสอน

เด็กไทย4.0คืออะไร

รูปภาพ
เด็กไทยยุค 4.0 ที่เกิดโตมาในสังคมที่เต็มไปด้วยความแข็งขัน จึงทำให้พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครอง ยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของลูกหลานเพื่อสร้างโอกาสเชิงการแข่งขันกันตั้งแต่วัยเยาว์ โดยจากผลการวิจัยพบว่า คุณแม่ให้ความสำคัญกับ 5 ความสามารถพิเศษ จะมีอะไรบ้างไปชมกันเลย!!! ซึ่งผลวิจัยนี้มาจาก  Amarin Baby & Kids เครือข่ายแม่ลูกที่เข้าถึงคุณแม่และสมาชิกครอบครัวถึง 21 ล้านคนต่อเดือน หรือ 73% ของแม่ไทยทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงพฤติกรรม ทัศนคติ ความคาดหวัง และตัวแปรตัดสินใจต่างๆ ของคุณแม่ไทยยุค 2017 • 85% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านภาษา โดยคุณแม่อยากให้ลูกสามารถพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษาขึ้นไป • 56% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านกีฬา เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทางสังคม • 45% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านการแสดง เพื่อให้ลูกกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ • 42% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านดนตรี เพื่อสร้างทักษะทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี • 23% ให้ความสำคัญกับทักษะพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จากผลวิจัยจะเห็นได้ว่า พ่อแม่ ส่

อาเซียนคืออะไร

รูปภาพ
 อาเซียน ASEAN ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า  " ASEAN "  หรือในภาษาไทยอ่านว่า  " อาเซียน "  จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น อาเซียน  เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่  มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซ

ASEAN4.0

รูปภาพ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า “4.0” ในหลากหลายบริบท อาทิ เศรษฐกิจ 4.0 อุตสาหกรรม 4.0 และประเทศไทย 4.0 คำว่า “4.0” แท้จริงแล้วเราต้องการสื่อถึงการขับเคลื่อนบริบทต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แต่การขับเคลื่อนด้วยสิ่งเหล่านั้น เราจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาคน 4.0 ให้ได้เสียก่อน ในฐานะที่การศึกษา คือ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน จึงควรพัฒนาให้เป็นการศึกษาระบบ 4.0 เพื่อพัฒนาคน 4.0 ให้ได้ โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงคนให้มีทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ จากการจัดอันดับโลกทางการศึกษาของเพียร์สัน (Pearson) ซึ่งจัดอันดับจากดัชนีความสามารถการเรียนรู้ (Learning curve index) โดยใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ ด้านทักษะในการรับรู้ (Cognitive Skill) และด้านประสิทธิผลทางการศึกษา (Educational Attainment) เมื่อพิจารณาการจัดอันดับเมื่อปี ค.ศ. 2014 พบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 3 ประเทศ ได้รับการจัดอันดับใน 40 อันดับแรก โดยอันดับ 3 คือ สิงคโปร์ อันดับ 35 คือ ไทย และอันดับ 40 คือ อินโดนีเซีย เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายใต้ความเป็นอันดับ 3 ของสิงคโปร

การพํฒนาอาเซียน4.0

รูปภาพ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า “4.0” ในหลากหลายบริบท อาทิ เศรษฐกิจ 4.0 อุตสาหกรรม 4.0 และประเทศไทย 4.0 คำว่า “4.0” แท้จริงแล้วเราต้องการสื่อถึงการขับเคลื่อนบริบทต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แต่การขับเคลื่อนด้วยสิ่งเหล่านั้น เราจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาคน 4.0 ให้ได้เสียก่อน ในฐานะที่การศึกษา คือ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน จึงควรพัฒนาให้เป็นการศึกษาระบบ 4.0 เพื่อพัฒนาคน 4.0 ให้ได้ โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงคนให้มีทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ จากการจัดอันดับโลกทางการศึกษาของเพียร์สัน (Pearson) ซึ่งจัดอันดับจากดัชนีความสามารถการเรียนรู้ (Learning curve index) โดยใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ ด้านทักษะในการรับรู้ (Cognitive Skill) และด้านประสิทธิผลทางการศึกษา (Educational Attainment) เมื่อพิจารณาการจัดอันดับเมื่อปี ค.ศ. 2014 พบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 3 ประเทศ ได้รับการจัดอันดับใน 40 อันดับแรก โดยอันดับ 3 คือ สิงคโปร์ อันดับ 35 คือ ไทย และอันดับ 40 คือ อินโดนีเซีย เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายใต้ความเป็นอันดับ 3 ของสิงคโปร

Thailand 4.0 เพื่อดันไทยสู่ผู้นำด้านดิจิทัลใน ASEAN

รูปภาพ
ในทศวรรษหน้า มีการคาดการณ์จากสำนักวิจัยต่างๆว่าจะเกิดยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในกลุ่มประเทศ ASEAN อย่างโดดเด่น โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและผู้นำประเทศที่มองการณ์ไกล ผลของการปฏิวัติภาคการผลิตของ ASEAN จะเพิ่มความสามารถในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคให้มีมากขึ้น ในขณะที่ลดอัตราการว่างงานลงและจะสร้างงานที่มีค่าจ้างสูงขึ้น ดังนั้น การวางยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการทางดิจิทัล (Digital service) จึงมีความสำคัญยิ่งในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อฉกฉวยโอกาสใหม่นี้ให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป การใช้ศักยภาพทางดิจิทัล (digitization) จะช่วยขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้มีต้นทุนด้านแรงงานต่ำลงและมีประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้น เซนเซอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกำลังถูกนำมาเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์และเครื่องจักรผ่านการสื่อสาร Internet of Things (IoT) ในขณะที่ความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าขึ้นจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โลจิสติกส์ และการขาย โดยในอนาคต โรงงานต่างๆจะมีความยืดห

โมเดล ประเทศไทย 4.0

โมเดล ประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย กลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ดังนี้ 1.Productive Growth Engine  เพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ High Income Country ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การบริหารจัดการสมัยใหม่และการสร้างคลัสเตอร์ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมถึงการบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี เป็นต้น Productive Growth Engine  เป็นการตอบโจทย์ความพยายามในการก้าวข้าม “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” ที่เรากำลังเผชิญอยู่ 2.Inclusive Growth Engine  เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่นคงที่เกิดขึ้น โดยสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัดการพัฒนาเศรษฐกิจและระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและความท้าทายทางสังคมในมิติต่างๆ การส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การยกระดับขีดความสามารถ การเสริมสร้างทักษะและการเติมเต็